วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้ฟังก์ชัน Day, Month, Year เพื่อแยก วัน เดือน ปี ออกจากกันอย่างรวดเร็ว

วันนี้มี Tip ดี ๆ ในการใช้โปรแกรม Excel มาฝากกันเพิ่มอีกแล้วนะครับ นั่นก็คือการแยกข้อมูล วัน เดือน ปี ออกจากกันในโปรแกรม Excel ด้วยฟังก์ชั่น Day, Month, Year เรามาดูกันเลยครับ

1. ทดสอบสร้างตารางข้อมูล ดังภาพก่อนนะครับ



2. ใส่ฟังก์ชัน "DAY(A2)" ไปที่เซลส์ "B2" ดังภาพที่แสดงครับ

 


3. ใส่ฟังก์ชัน "MONTH(A2)" ไปที่เซลส์ "C2"  ดังภาพที่แสดงครับ




4. ใส่ฟังก์ชัน "YEAR(A2)" ไปที่เซลส์ "D2" ดังภาพที่แสดงครับ



5. เสร็จแล้วเราก็เพียงแค่ Copy ฟังก์ชันทั้งหมดมาจนถึงแถวที่ 6 เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถแยก วัน เดือน ปี ของข้อมูลทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว ดังภาพที่ปรากฎแล้วนะครับ

































วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การเปิดแถบนักพัฒนาสำหรับสร้าง Macro หรือเขียนโปรแกรมใน Excel

สวัสดีครับ เจอกันอีกครั้งในบทความอันใหม่ของผม ท่านรู้หรือไม่ว่าโปรแกรม Excel นั้น
มีความฉลาดอีกอย่างหนึ่งที่อยากจะแนะนำให้รู้จักครับ นั่นคือการสร้าง Macro หรือเขียนโปรแกรม
ให้ Excel นั้นทำงานอัตโนมัติ ซึ่งภาษาที่เขียนนั้นก็จะใช้ภาษา VBA (Visual Basic for Application)
นั่นแน่......สำหรับเซียน VB ถ้าได้รู้อย่างนี้แล้วก็ยิ้มกันได้เลยนะครับเพราะว่าจะทำอะไรกับ Excel ได้อีก
ตั้งเยอะตั้งแยะ เพราะโครงสร้างของภาษานั้นก็จะเหมือนกันมาก จะต่างกันอยู่นิดหน่อยก็คงจะเป็น
บางฟังก์ชันที่อาจจะมีใช้ได้เฉพาะใน Excel นั่นเอง แต่ก่อนที่เราจะเขียนโปรแกรมลงไปได้นั้น
เราต้องเปิดแถบ Developer หรือ แปลเป็นไทยว่า แถบนักพัฒนา มาก่อนครับ ซึ่งในบทความนี้ก็จะบอก
ว่าเราจะเปิดมันออกมาได้อย่างไรเป็นการเริ่มต้นก่อนจะนำพาเราไปสร้าง macro นะครับ
เรามาดูกันเลยดีกว่า

1.ไปที่เมนู File จากนั้นเลือก Option ตามภาพครับผม


2. โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง Option ขึ้นมาจากนั้นให้เราเลือก Customize Ribbon และ ติ๊กถูกที่ Developer ตามภาพ และคลิก OK เพื่อบันทึกและปิดหน้าต่างนี้ไป



3. จากนั้นแถบ Developer หรือ นักพัฒนา ก็จะปรากฏให้เราเห็นเตรียมพร้อมที่จะสร้าง macro หรือ เขียนโปรแกรมใช้เอง กันแล้วครับผม

 






วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

การแปลงจำนวนเงินที่เป็นตัวเลข ให้เป็นคำอ่านภาษาไทย

วันนี้มีฟังก์ชั่นง่าย ๆ น่าสนใจและมีประโยชน์มาฝากอีกแล้วนะครับ นั่นก็คือ ฟังก์ชั่น "BAHTTEXT" นั่นเอง โดยฟังก์ชันนี้จะทำหน้าที่แปลงตัวเลขให้เป็นคำอ่านให้เราอัตโนมัติครับ (นักบัญชีคงจะชอบไม่น้อย) มาเริ่มกันเลยครับ

1. ทดสอบพิมพ์ตัวเลขบนเซลส์ B1 ดังภาพ



2.พิมพ์สูตรสำหรับฟังก์ชัน "BATHTEXT" ในเซลส์ B2 ดังภาพ



3. จากนั้นโปรแกรมก็จะแปลงค่าตัวเลขเป็นคำอ่านในรูปแบบตัวอักษรให้โดยอัตโนมัติ




ลองนำไปใช้กันดูนะครับ วันนี้พอแค่นี้ก่อนครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การใช้ฟังก์ชั่น COUNTIF

วันนี้มี ฟังก์ชั่น ง่าย ๆ ใน Excel มาฝากอีกครับ และคาดว่าถ้าใครรู้แล้วจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลกันเลยทีเดียว แอ่น แอ๊น.... นั่นก็คือ ฟังก์ชั่น COUNTIF นั่นเอง
ฟังก์ชั่น COUNTIF นี้จะใช้สำหรับการนับข้อมูลโดยมีเงื่อนไข ตอนนี้ทุกคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออกนะเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน มาดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า

1. รูปด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างข้อมูลที่เราจะมาทดสอบกับฟังก์ชั่น COUNTIF ครับ เป้าหมายของเราก็คือต้องการสรุปว่าจำนวนพนักงานในตารางถ้าเราแยกเป็นแผนกแล้วแต่ละแผนกจะมีจำนวนสมาชิกอยู่เท่าไรครับ

2. ต่อมาเราจะสร้างตารางสำหรับสรุปข้อมูล ดังภาพตัวอย่างด้านล่างครับ


3. ใส่สูตรโดยใช้ฟังก์ชั่น "COUNTIF" ตามภาพเลยครับ



ผมจะขออธิบายความหมายของรูปแบบการใช้ฟังก์ชั่นตามนี้ล่ะกันครับ
              =COUNTIF(ช่วงของข้อมูลที่ต้องการนับ, เงื่อนไขในการนับ)
              จากสูตรตัวอย่าง "=COUNTIF($A$2:$B$20,$G3) จะหมายถึง ให้นับข้อมูลในช่วง "A2 ถึง B20" โดยมีเงื่อนไขว่าคำที่เจอในช่วงข้อมูลนั้นต้องตรงกับเซลล์ "G3" ครับ 

4. เมื่อใส่ฟังก์ชั่นเสร็จแล้วก็ให้กดปุ่ม "Enter" บนคีย์บอร์ด และ copy สูตรมาใส่ในเซลล์ที่ต้องการจะใช้ จากนั้นเราก็จะได้ผลลัพธ์ตามภาพครับผม


     เพียงเท่านี้เราก็สามารถสรุปข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันใจโดยอาศัยฟังก์ชั่น "COUNTIF" แล้ว ง่ายไหมล่ะครับเพื่อน ๆ